หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

有用的词汇: 政治词语 (汉泰对照) ศัพท์จีนน่ารู้ ศัพท์การเมือง (จีนไทยเปรียบเทียบ)


有用的词汇: 政治词语 (汉泰对照) ศัพท์จีนน่ารู้ ศัพท์การเมือง (จีนไทยเปรียบเทียบ)
**  ชุดคำศัพท์การเมืองภาษาจีนที่มีคนสนใจถามกันมา


เมื่อวานมีคนโทรมาสอบถามว่า  หลักสูตรการแปลและล่ามภาษาจีนรุ่นใหม่ของเหล่าซือจะเปิดเมื่อไหร่ เขาเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวกับต่างประเทศ รับผิดชอบงานด้านภาษาจีน




แปลและเรียบเรียงโดย สุวรรณา (อดีตผู้แปลข่าวการเมืองและเศรษฐกิจ น.ส.พ.ซิงเซียนเยอะเป้า / น.ส.พ. ตงฮั้ว )

张碧云 (曾任泰国华文〈星暹日报〉 与 〈中华日报〉泰事版、经济版新闻翻译)




..................................................................................................

คำศัพท์จีนอื่นๆ ดูเพิ่มเติม ได้ที่

ภาษาจีนน่ารู้ 有用的中文词汇

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=741230809242462&set=a.718530564845820.1073741849.462414183790794&type=1&theater


https://www.facebook.com/SuwannaFutureC


โพสต์คร้ังแรก  OKnation Blog
http://www.oknation.net/blog/chineseclub/2013/12/11/entry-1

หลังจากที่โพสต์ไว้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2013
ก็ได้รับความสนใจจากคุณครูภาษาจีนหลายท่าน และบล็อกเกอร์บางท่าน
นำไปช่วยเผยแพร่ เช่น ในเฟชบุ๊ก และ ในบล็อก ซึ่งมีหลายท่านได้บอกมาก่อนว่าจะขอแชร์
ซึ่งก็ยินดีและขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

สำหรับท่านที่ไม่ได้บอกมาแต่ขอแชร์ไป ก็ขอให้แชร์ไปทั้งหมด โดยไม่ดัดแปลงหรือตัดข้อความบางส่วนออกนะคะ 

 ดิฉันไปเห็นในบางเฟชตัดเอาข้อความตอนต้นกับตอนท้ายออก

 เอาแต่เนื้อหาตรงกลางไปโพสต์ค่ะ


ไม่ได้หวง ยินดีให้เป็นวิทยาทานนะคะ แต่อยากขอร้องช่วยทำให้ถูกต้องค่ะ 



Flag Counter

วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เปิดเดินรถไฟฟ้าเพิ่ม 2 สถานี BTS Wutthakat BTS Bang Wa ส่วนเชื่อมขยายต่อจาก BTS Talat Phlu



เปิดเดินรถไฟฟ้าเพิ่ม 2 สถานี

วันที่ 5 ธันวาคม  2013  รถไฟฟ้าเปิดบริการเพิ่มเติมเส้นทางฝั่งธนฯ

1.  ทางเชื่อม จากบีทีเอสตลาดพลู มาลงที่ฝั่งสถานีรถ บีอาร์ที เปิดใช้แล้ว

2.  นั่งรถไฟฟ้าจากสาทร ตรงมาที่ BTS ตลาดพลูได้เลย  ไม่ต้องลงจากรถเพื่อต่อขบวนรถที่ BTS วงเวียนใหญ่อีกแล้ว    (ตั้งแต่ 27 พ.ย.  2013)

3.  เปิดใช้ BTS วุฒากาศ (Wutthakat) 
     และ BTS บางหว้า ( BTS Bang Wa ตรง 4 แยกถนนเพชรเกษมตัดกับถนนราชพฤกษ์) 

ฟรี ค่ารถไฟฟ้าจาก บีทีเอสวงเวียนใหญ่ ถึง สถานีบีทีเอสตลาดพลู ต่อไปยังบีทีบางหว้า  รวม 5 สถานี (ยังไม่เก็บค่าบริการ)




BTS Talat Phlu   ตรง 4 แยกราชพฤกษ์ 



ดูผังประกอบ
  
จาก บีทีเอสวงเวียนใหญ่ ถึง สถานีบีทีเอสตลาดพลู ต่อไปยังบีทีเอสบางหว้า ยังใช้ฟรีอยู่  
ข่าวว่าจะเิริ่มเก็บค่าบริการ 10 บาท ในวันที่ 5 มกราคม 2013

ส่วนต่อขยายนี้ บริหารโดย กทม. ด้วยเงินภาษีที่เก็บได้จากคนกรุงเทพฯ  













ถ้าจะไปที่เดอะมอลล์ - ท่าำพระ ไปนั่งรถบีอาร์ที สถานีราชพฤกษ์  
หรือ จะไปที่สถาบันสอนภาษาจีนฟิวเจอร์ซี   ก็เดินมาตามทางออก #3



แต่ถ้าจะไปต่อรถที่ตรงข้ามเดอะมอลล์ - ท่าพระ ก็เดินออกที่ทางออกหมายเลข 2 


ทางเชื่อมข้ามถนนรัชดาภิเษก (ตากสิน - ท่าพระ)


มองจากบนทางเชื่อมบีทีเอสตลาดพลู จะเห็นเดอะมอลล์ - ท่าพระ









แล้วเดินมาลงที่ในรูปนี้   ห่างจากสถานี บีอาร์ที ประมาณ 50 เมตร 


เส้นทางและอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าตลอดสาย









Flag Counter

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

LUO HAN GUO - Chinese herb 罗汉果 (羅漢果) หล่อฮั้งก้วย สมุนไพรจีนแก้เจ็บคอประจำบ้าน

ช่วงนี้เห็นมีคนรอบตัวไม่สบาย เจ็บคอ เสียงแห้ง กันหลายคน

เลยเอาสมุนไพรจีนที่บ้านเหล่าซือต้มกินเวลาเจ็บคอมาฝาก

แก้ไข้ได้ด้วย ไม่ต้องพึ่งยาแผนปัจจุบัน

เหล่าซือป่วยบ่อย  ทำงานใช้เสียง เจ็บคอเป็นไข้ก็บ่อย  

ที่บ้านก็จะมียาสนุนไพรจีนนี้ติดบ้านเสมอ

ราคาไม่แพง 10 ลูก ประมาณ 100 บาท ต้มน้ำทานครั้งละ 2 ลูก

ซื้อตามร้านขายยาจีนทั่วไป หรือข้างถนนแถววัดเล่งเน่ยยี่ (วัดมังกร) เยาวราช บางรัก ฯลฯ

เวลาเลือก ก็เลือกดูสีเข้มๆ หน่อย

หล่อฮั้งก้วย เป็นสมุนไพรจีน จาก มณฑลกวางสี  ได้รับการขนานนามว่า  “神仙果” (ผลเทวดา)

อุดมไปด้วยวิตามิน C

นอกจากที่แถบเมืองกุ้ยหลินของมณฑลกวางสีแล้ว  ยังสามารถปลูกในบางที่ของมณฑล

กวางตุ้งได้ด้วย

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินและอากาศที่ หล่อฮั้งก้วย ชอบ

ชาวจีนรู้จักใช้ยาตัวนี้มานานแล้ว  ชาวตะวันตกตอนนี้ก็สนใจศึกษาสมุนไพรจีนมาก

 หล่อฮั้งก้วย มีคุณสมบัติทางยาธาตุเย็น หญิงมีประจำเดือนไม่ควรทาน

เหล่าซือไม่ใช่หมอจีน  แต่ก็อยากเอาเกร็ดความรู้เล็กน้อยจากประสบการณ์เรื่องการใช้

สมุนไพรจีนมาฝาก

หวังว่าเอนทรี่นี้จะเป็นประโยชน์ค่ะ



 หล่อฮั้งก้วย ตอนเป็นลูกอยู่ หน้าตาแบบนี้



 ล้างสะอาดแล้วบีบให้แตก หรือทุบให้แตก เปลือกบางๆ   








 ข้างในจะเป็นลักษณะนี้ค่ะ 





ใส่ลงไปต้มได้ทั้งเปลือก 

 
  






  

เอาไปต้มน้ำ ตอนเอาลงไปต้ม อย่าเล่นเน็ตจนลืม เดี๋ยวหม้อไหม้ 

ที่เตือนเพราะตัวเองเคยตั้งต้มถั่วเขียวไว้ แล้วก็ไปโหวตบล็อก 

จนหม้อไหม้ต้องขัดหม้ออยู่นานเลย

หม้อใบนี้แหละ








นี่ค่ะ พร้อมทานแล้ว ทานแทนน้ำได้เลย

ปกติ ไม่ต้องใส่น้ำตาล สมุนไพรชนิดนี้ก็มีรสหวานอยู่แล้ว

แต่ถ้าต้องการหวานยิ่งขึ้น ก็เติมน้ำตาลได้ค่ะ 


แต่ที่ขายเป็นซอง เป็นผงสำเร็จรูป ไม่แนะนำนะคะ  ตัวยาน้อย น้ำตาลมากค่ะ

ไม่เข้มข้นเหมือนต้มทานเอง


ต้มขายก็ได้  แถวเยาวราชขายกันขวดละ 10 - 15 บาท 




 





 ซื้อในเมืองไทย อาจไม่มีแพ็คกิ้งลักษณะแบบนี้ (อันนี้มาจากฮ่องกง)

ที่บ้านเราจะแพ็คขายเ็ป็นถุง หรือ นับขายเป็นลูก 




       






 รับสักถ้วยมั้ยคะ  ขอให้คนที่เจ็บคออยู่หายเร็วๆ นะคะ 







ภาษาจีนฮากกา เรียกว่า     หล่อฮ้อนก้อ  


จีนกลาง           เรียกว่า     หลั่วฮั่นกั่ว  

罗汉果 (羅漢果)               Luóhànguǒ

ชื่อวิทยาศาสตร์  學名:      Siraitia grosvenori)


สมุนไพรจีน ภาษาจีนใช้คำว่า    中草药    Zhōngcǎoyào  

สมุนไพร     ภาษาจีน ใช้คำว่า      草药     cǎoyào
 
ยาแผนจีน  ใช้คำว่า                    中药       Zhōngyào  


罗汉果 被人们ัี誉为 “神仙果” 。


主要产于广西壮族自治区桂林市的山区,是桂林的土特产。

果实营养价值很高,含丰富的维生素 C (每 100 克鲜果中含 400 毫克 ~ 500 毫

克)果糖、


葡萄糖、蛋白质、脂类等。




ภาพที่ ลูกหล่อฮั้งก้วย ยังอยู่บนต้นซึ่งเป็นเถานี้ ได้จาก เว็ยไซต์จีน

ขอบคุณข้อมูลภาษาจีนจาก 感谢 : http://baike.baidu.com/picview/8307/8307/2587570/



Flag Counter


Flag Counter ..๑๑๑๑๑

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กาน้ำชาจีน 中国传统茶壶艺术


กาน้ำชาจีน  การดื่มชา 
เป็นสัญลักษณ์บ่งบอกศิลปวัฒนธรรมจีนอย่างหนึ่ง ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ 
ชาวจีนเป็นชาติแรกที่รู้จักการดื่มชา

การดื่มชาจึงเป็นสิ่งสำคัญ 7 อย่างในชีวิตประจำวันของชาวจีน (开门七大事)  มาตั้งแต่โบราณ  
กาน้ำชาสวยๆ ในปัจจุบันเหมาะสำหรับการตั้งโชว์ เป็นของฝาก เป็นของที่ระลึก  มากกว่าการใช้งานชงชาจริง 

中国传统茶壶艺术    
 泰国张碧云拍摄 

 中國茶壺傳統藝術


ถ้วยน้ำชาจีนทรงโบราณสามขาใบแรกนี้ขอจองไว้สำหรับมอบให้ตัวเองละกันค่ะ 




กาน้ำชาจีนใบต่อไปนี้ขอมอบให้บล็อกเกอร์ท่านที่บอกว่า "ตอนนี้ยืมใช้ของเพื่อนอยู่" ค่ะ




อักษรจีนที่เขียนไว้ข้างกาน้ำชาใบกลางและใบขวา เรียกว่าอักษรจีน 篆书 จ้วนซู  เป็นตัวอักษรโบราณที่ใช้เมื่อประมาณ 2000 กว่าปีก่อน (ในสมัยราชวงศ์ฉิน) 



กาน้ำชาจีนสีแดงพร้อมถ้วยชาสไตล์หรูๆ หน่อยก็ขอมอบให้ท่านที่ชื่นชอบค่ะ



ชุดนี้ชงชาดื่มแล้วจะได้มีทองเต็มบ้านค่ะ 







กาน้ำชาจีนแกะสลักด้วยหยกนี้ ไม่ได้ตั้งขายนะคะ 
แต่ผู้เขียนถ่ายมาจากพิพิธภัณฑ์นครหลวง 北京首都博物馆











 ดูเพิ่มเติม เจาะลึกปักกิ่ง ตอน CAPITAL MUSEUM http://www.oknation.net/blog/chineseclub/2011/08/31/entry-2 
อักษรจีนตัว 壽 ที่แกะสลักอยู่ข้างกาน้ำชาหยกนี้ ออกเสียงจีนกลางว่า โซ่ว แปลว่าอายุยืนยาว อายุวัฒนะ 
ออกเสียงจีนแต้จิ๋วว่า ซิ่ว  เป็น หนึ่งใน ฮก ลก ซิ่ว  福 祿 壽 

 

  อักษรจีน 壺 ที่แปลว่ากาน้ำ มาจากอักษรภาพของจีนโบราณ ที่วาดเป็นรูปคล้ายกาน้ำชานะคะ


3 รูปหลังเป็นภาพบรรยากาศในร้านขายชาจีนค่ะ  


รูปนี้เคยโพสในเอนทรี่ก่อนหน้า  แต่ตัดต่อใหม่ให้เห็นชัดขึ้นค่ะ


Art of Chinese Teapot   


Chinese Teapot  ภาพกาน้ำชาจีน  中国茶壶
 (เป็นภาพที่ผู้เขียนถ่ายจากปักกิ่งเมื่อปี 2011 และ 2012)
.....................................

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง 


รีวิวถ้วยน้ำชา กาน้ำชา TWG  (click here) http://suwannas.blogspot.com/2013/08/twg.html

http://suwannas.blogspot.com/2013/08/twg.html


ติดตาม เรียนภาษาจีน  เกร็ดวัฒนธรรมจีน  เกร็ดประวัติศาสตร์จีน และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับจีนๆ  ได้ที่ 

                        Facebook fanpage : Suwanna future C







Flag Counter ..๑๑๑๑๑

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รีวิวถ้วยน้ำชา กาน้ำชา TWG


สำหรับคนชอบถ้วยน้ำชา กาน้ำชาสไตล์ต่างๆ

รีวิวถ้วยน้ำชา กาน้ำชา TWG   




เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา
 ดิืฉันมีโอกาสได้ต้อนรับอาจารย์จาก BLCU 
(ฺำ่ Beijing Language and Culture University ) 

หลังจากพาอาจารย์และภรรยาไปนมัสการพระพรหมแล้ว  
ก็พาไปเดินที่สยามพารากอนต่ออีกนิดหน่อย




อาจารย์เห็นกาน้ำชาชุดนี้  ซื้อไปเป็นของฝาก










ในช็อปของ TWG +Siam Paragon  
มีพนักงานขายคนหนึ่งที่พูดภาษาจีนกลางได้ดีมาก
ชื่อน้องน้ำผึ้ง  จึงสามารถสื่อสารกับลูกค้าชาวจีนได้เป็นอย่างดี  
เธอให้การต้อนรับและชวนให้ดมใบชาชนิดนั้นชนิดนี้  
สรุปว่าได้ยอดซื้อไปประมาณสามหมื่นบาท 




ใบชากับบรรจุภัณฑ์สวยเก๋

















































เรื่องที่เกี่ยวข้อง

กาน้ำชาจีน  中国传统茶壶艺术



ติดตาม เรียนภาษาจีน  เกร็ดวัฒนธรรมจีน   
Suwanna Future C

http://www.futurec-cn.com
                      


Flag Counter