หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

มูลนิธิร่วมกตัญญู หงี่เต็กตึ๊ง (泰国義德善堂)


 วันที่เขียนเรื่องนี้  คือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2014
เป็นวันเทศกาลหง่วงเซียว (元宵節 - เทศกาลโคมไฟ ) ของจีน
ซึ่งตรงกับขึ้น 15 ค่ำเดือน 1 ของจีน
( วันหง่วงเซียว มักจะตรงกับวันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ของไทย )
และในวันนั้น  ตรงกับวันมาฆบูชาของชาวพุทธ  
วันหง่วงเซียวของชาวจีน  และ 
วันวาเลนไทน์ของชาวคริสต์
ซึ่งบรรจบมาตรงกันพอดี  
จึงเป็นวันที่พิเศษวันหนึ่งในความรู้สึกของดิฉัน
แต่ไม่ได้ตั้งใจจะเขียนเรื่องประเพณีจีน หรือ วาเลนไทน์
แต่อยากจะเขียนถึงมูลนิธิ 

มูลนิธิที่อยากเขียนถึง ก็เป็นมูลนิธิที่เราคุ้นหูกันดี

"มูลนิธิร่วมกตัญญู " หรือที่รู้จักกันในชื่อภาษาแต้จิ๋วว่า "หงี่เต็กตึ้ง" (義德善堂)  

เป็นมูลนิฺธิที่ดิฉันร่วมสมทบเงินทำบุญเป็นประจำ  
แม้จะเป็นเงินเล็กน้อย  แต่ก็แวะไปร่วมสมทบเงินติดต่อกันทุกปีไม่ได้ขาดมาตั้งแต่ปี 1989 (พ.ศ. 2532) 

ที่บริจาคทุกปีติดต่อกันมา เพราะในปี 1989  ดิฉันได้รู้จัก "พี่สุณี" หัวหน้างานเก่าที่เคารพ 
โดยพี่สุณีจะไปบริจาคเงินให้กับมูลนิธิการกุศลนี้ทุกปีในเดือนเกิด

ดิฉันกับพี่สุณีเกิดในเดือนเดียวกัน  ก็เลยฝากไปร่วมทำบุญและก็ถือโอกาสทำในนามของทุกคนในครอบครัวด้วย 
ทำอย่างนี้นานติดต่อกันมา 15 ปีจนกระทั่งลาออกจากงานเดิม  

ทุกวันนี้ดิฉันก็ยังคงไปบริจาคด้วยตัวเองทุกปี  มากบ้างน้อยบ้าง  บางปีก็ไปมากกว่า 1 ครั้ง
อย่างปีที่แล้ว  ดิฉันไปที่นั่นในวันที่ 5 ธันวาคมด้วย ซึ่งเป็นวันพ่อแห่งชาติ
เพราะเช้าวันนั้นฝันเห็นคุณพ่อที่จากไปเมื่อ 24 ปีก่อน  
ก็เลยไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ทั้งพ่อแม่ของตัวเอง และ พ่อแม่ของสามี
จะอุทิศส่วนกุศลให้ได้จริงหรือไม่จริง  ก็ไม่เป็นไร  
แต่ทำแล้วสบายใจ และคิดว่ามีส่วนร่วมช่วยสังคม ก็โอเคแล้ว
ถ้าพ่อยังมีชีวิตอยู่หรือรับรู้ได้  ก็คงเห็นด้วย
ภาพที่ดิฉันถ่ายมานี้ คือ ศูนย์ประสานงานและรับบริจาคของมูลนิธิร่วมกตัญญูที่

วัดหัวลำโพง  ถนนพระราม 4  กรุงเทพฯ 

สามารถจอดรถในวัดหัวลำโพง แล้วนำบัตรจอดรถมาประทับตราได้
หรือจะมารถไฟฟ้าใต้ดินก็ได้

(ในภาพ ถ่ายเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม มีคนมาบริจาคมากกว่าวันปกติ ในนั้นมีชาวต่างชาติที่พูดภาษาจีนอยู่หลายกลุ่ม) 
               มีความเชื่อว่า การทำบุญด้วยการบริจาคเงินซื้อโลงศพให้แก่ศพไม่มีญาตินั้น  ได้กุศลแรง
            แต่ดิฉันไม่ได้ติดใจตรงที่แรงหรือไม่แรง
            เพียงแค่คิดว่าอยากจะมีส่วนร่วมเล็กๆ   
            เพราะเห็นว่างานที่สมาชิก - อาสาสมัครของมูลนิธิเหล่านี้ทำอยู่  เป็นงานที่ยากลำบาก น่ากลัว  
            เป็นการทำความดีให้กับสังคม น่ายกย่อง น่านับถือจิตใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือชีวิตจากอุบัติเหตุ  ภัยพิบัติร้ายแรง เช่น สึนามิ ไฟไหม้ ฯลฯ  ล้วนแต่เป็นงานที่ดิฉันทำไม่ได้และไม่กล้าทำด้วย  

        มูลนิธิการกุศลอย่างหงี่เต็กตึ๊ง(義德善堂) และมูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ที่พลับพลาไชย (報德善堂) ฯลฯ  เกิดขึ้นเมื่อประมาณเจ็ดสิบปีก่อน ในช่วงสงครามบูรพา  ซึ่งช่วงแรกยังไม่ได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิ 

        ช่วงนั้นมีคนจีนอพยพมาพึ่งบุญเมืองไทยจำนวนมาก   มาอย่างเสื่อผืนหมอนใบ  บางคนเสียชีวิตในสภาพที่ไร้ญาติ ไม่มีโลงศพ  บางคนเสียชีวิตจากการถูกระเบิดของสงคราม  ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเวทนามาก  จึงได้มีการออกไปช่วยกันเก็บศพ  เรี่ยไรเงินช่วยซื้อโลงศพและจัดการฝังศพให้กับผู้เสียชีวิตอนาถาเหล่านั้น
 
        ต่อมามีผู้ใจบุญสมทบเงินมากขึ้น  จึงได้ตั้งเป็นมูลนิธิขึ้น และขยายงานสงเคราะห์สังคมออกไปกว้างขึ้น 
        คุณแม่ของ "พี่สุณี" ก็เป็นคนหนึ่งที่อพยพมาจากจีนโดยการลงเรือมา ยุคเีดียวกันกับ คุณชิน โสภณพานิช ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพฯ 

        ตอนดิฉันอายุยังน้อย  ไม่มีรายได้  ไม่มีเงินจะบริจาค  เคยไปเป็นอาสาสมัครช่วยงาน มูลนิธิปอเต็กตึ๊ง ที่ศาลเจ้าไต่ฮงกง ( ศาลเจ้าของมูลนิธิปอเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย ) ในช่วงตรุษจีนและคืนวันหง่วงเซียว  โดยไปนั่งโต๊ะช่วยเขียนชื่อ (ภาษาจีน) ให้กับผู้ที่มาบริจาคเงินหรือสิ่งของ  ซึ่งทุกปี ชาวไทยเชื้อสายจีนจะมาไหว้เจ้าที่ ไต่ฮงกง และร่วมบริจาคเงินเป็นจำนวนมาก (อย่างคืนนี้)  
        อนิสงส์จากมูลนิธิ
        สามีดิฉัน สมัยเป็นนักเรียนที่สวนกุหลาบ  เคยทำกิจกรรมออกค่ายต่างจังหวัด  ก็ได้ขอความอนุเคราะห์ข้าวสารจากมูลนิธิปอเต็กตึ๊ง 
        
        10 ปีก่อน น้องชายดิฉันขี่มอร์เตอร์ไซต์ถูกรถชนที่ถนนเพชรเกษม ใกล้พุทธมณฑลสาย 2  หัวฟาดพื้นสลบไป  และไปฟื้นขึ้นรู้สึกตัวที่โรงพยาบาลอีกหลายชั่วโมงต่อมา
        หลังจากรู้สึกตัวจึงได้ติดต่อญาติได้  สอบถามจากทางโรงพยาบาลก็ทราบว่า มีรถของมูลนิธิ (ซึ่งตอนนั้นไม่ทราบว่าเป็นของมูลนิธิปอเต็กตึ๊ง หรือ หงี่เต็กตึ๊ง) นำน้องชายดิฉันมาส่งที่โรงพยาบาล  ส่วนคนชนหนีไป
        เราไม่มีโอกาสได้กล่าวขอบคุณ ผู้ที่ช่วยชีวิตของน้องชายเรา  
แต่เราเก็บความขอบคุณนั้นไว้ในใจตลอดไป
        ถ้าสิ่งใดที่เราทำแ้ล้วได้บุญกุศลบ้าง  ก็ขอให้เขาเหล่านั้่นได้บุญกุศลนั้นด้วยค่ะ 
  
ข้อมูลเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
มูลนิธิร่วมกตัญญู ถนนพระรามที่ 4
มูลนิธิร่วมกตัญญู หรือ หงี่เต็กตึ๊ง (จีนตัวเต็ม泰國義德善堂จีนตัวย่อ泰国义德善堂พินอินTàiguó Yìdé shàntáng ไท่กั๋วอี้เต๋อซ่านถังสำเนียงแต้จิ๋วไทก๊กหงี่เต็กเซี่ยงตึ๊ง) เป็นมูลนิธิในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2513[1] ดำเนินงานสาธารณะในการเก็บศพ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและศูนย์วิทยุสื่อสาร รวมถึงงานการศึกษา
มีศูนย์ประสานงานและประกอบพิธีศพที่วัดหัวลำโพง ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร
อักษรจีนบนตราสัญลักษณ์ของมูลนิธิดัดแปลงมาจากคำว่า 義 หมายถึง กตัญญูคุณธรรม,ยุติธรรม
มูลนิธิร่วมกตัญญูเกิดขึ้นจาก สมเกียรติ สมสกุลรุ่งเรือง พ่อค้าขายกาแฟชาวจีน โดยได้ช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาสกว่าในชุมชนแออัด ตรอกโรงหมู กล้วยน้ำไท โดยเฉพาะกับคนจนๆ ที่ตายแล้วไม่มีเงินซื้อโลงศพ ต่อมาขยายวงจรจากท่าเรือคลองเตย ไปถึงพระโขนง พระประแดง บางขุนเทียน โดยใช้ชื่อ "ศาลหลวงปู่เปี่ยม"[2] จนในปี พ.ศ. 2513 จัดตั้งเป็นมูลนิธิ ภายใต้การจัดตั้งโดยโรจน์ โชติรุ่งเรือง และคณะกรรมการรวม 15 ท่าน โดยคุณสมเกียรติ สมสกุลรุ่งเรือง เป็นผู้บริหารงานและคุณรัตนา ภรรยา เป็นเลขาธิการ หลังจากที่โรจน์ถึงแก่กรรม คณะกรรมการบริหารมูลนิธิ จึงได้ยื่นขอเปลี่ยนใบอนุญาตจัดตั้งมูลนิธิร่วมกตัญญู เปลี่ยนชื่อประธานกรรมการ มาเป็นชื่อ สมเกียรติ สมสกุลรุ่งเรือง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2530 จนถึงปัจจุบัน
เมื่อเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ในปี พ.ศ. 2517 มูลนิธิร่วมกตัญญูได้ขยายงานเพิ่มในส่วนงานแผนกช่วยเหลือผู้ประสบภัยและศูนย์วิทยุสื่อสาร รวมถึงงานการศึกษา 

ประวัติความเป็นมา "มูลนิธิร่วมกตัญญู"

เมื่อครั้งสมัยสงครามบูรพา เหนือน่านฟ้าบางกอก ถูกถล่มด้วยฝูงบินบี 29 ของฝ่าย ตรงข้ามบินมาโปรย "ฝนเหล็ก" ทำให้ผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ช่วงนั้น คุณสมเกียรติ สมสกุลรุ่งเรือง ซึ่งอยู่ในวัยประมาณ13-14 ปี เป็นเด็กวิ่งส่งกาแฟ อยู่ย่านท่าเตียน ได้เห็นคนตายเพราะถูกระเบิดมากมายหลายศพ ตอนแรกๆ ออกไปดู เพราะความอยากรู้อยากเห็นตามประสาเด็กๆ เมื่อเห็นมากๆเข้าก็รู้สึกอดสังเวชใจไม่ได้ หลังๆ เลยออกไปช่วยเก็บศพกับเขาบ้าง แต่ก็ยังกล้าๆกลัวๆเหมือนกัน จนกระทั่ง เมื่อเก็บมากๆ เข้าจนรู้สึกเป็นการทำงานที่เป็นกุศล (จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นเองที่เป็นแรง บันดาลใจให้คิดถึงการตั้งมูลนิธิขึ้น) และจากการที่ออกไปช่วยเก็บศพในครั้งกระนั้น เป็นเหตุให้คุณสมเกียรติได้รับบาดเจ็บจากสะเก็ดระเบิดเข้าที่ขา ซึ่งนึกว่าต้องตายเสียแล้ว แต่เคราะห์ดีที่ได้รับการรักษาจากทหาร.......
เมื่อสงครามสงบคุณสมเกียรติ ได้ประกอบอาชีพขายของเล็กๆน้อยๆ พอเก็บหอม รอมริบได้เงินพอประมาณ จึงเปิดเป็นร้านขายของชำเมื่อปี 2502 ย่านสลัมคลองเตย โดยมีกรรมกรเป็นลูกค้าประจำ โดยขายแบบลงบัญชี ว่ากันว่าลงกันจนกระทั่งสมุดเปื่อย ซึ่งบางครั้งต้องลงสมุดใหม่โดยรวมเอาบัญชีของเดิมเข้าไปด้วย มีอยู่ครั้งหนึ่งญาติของ กรรมกรเกิดตายขึ้นมาโดยเจ้าตัวไม่มีเงินซื้อโลง ก็มาขอลงบัญชีเพื่อนำเงินไปซื้อโลง คุณสมเกียรติเห็นว่าควรทำบุญ เลยซื้อโลงให้ไปในราคาประมาณ 70-80 บาท
คุณสมเกียรติเห็นว่า นานๆ จะมีคนตายสักครั้ง จึงประกาศตัวด้วยการ บริจาคและทำบุญให้กับศพ โดยการจัดหาโลงศพพร้อมนิมนต์พระมาสวดให้ เสร็จสรรพ ซึ่งตัวคุณสมเกียรติจะเป็นผู้เก็บศพ ยกศพทุกครั้งที่มีคนตาย ซึ่งระยะแรกๆ ก็พอสู้ได้ ต่อมาเมื่อมีคนรู้ข่าวการกุศลนี้ก็มีศพมากขึ้น จึงได้ปรึกษากับคุณรัตนา ผู้เป็นภรรยา ถึงการจัดตั้งมูลนิธิอย่างเป็นรูปธรรม กระทั่งวันหนึ่ง คุณหมอโรจน์ โชติรุ่งเรือง ซึ่งเป็นอาของคุณสมเกียรติ แวะมาเยี่ยมเยียน และปรารภถึงการ อุปถัมภ์คนตายว่า การจัดหาโลงศพเป็นการสร้างกุศลที่ดีจึงขอร่วมด้วย ซึ่งสมัยนั้น คุณโรจน์เปิดร้านขายยารุ่งเรืองเภสัช อยู่แถวประตูน้ำ เมื่อทำไปได้สักระยะหนึ่ง ค่าใช้จ่ายต่างๆเพิ่มขึ้น จนกลัวว่าถ้าหากมีศพมากขึ้นจะทำต่อไม่ไหว จึงปรารภกันว่าน่า จะจัดตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อให้ผู้อื่นได้ร่วมกุศลนี้ด้วย ต่อมาจึงได้ไปจดทะเบียนตั้งเป็นมูลนิธิ ร่วมกตัญญูอย่างเป็นทางการ
เว็บไซต์ http://www.ruamkatanyu.or.th
ข้อความภาษาจีนของชาวต่างชาติและชาวจีนมาเลเซียเขียนถึงมูลนิธิร่วมกตัญญูที่ข้างวัดหัวลำโพง
และชวนให้ชาวจีนมาร่วมบริจาค
曼谷的Wat Hua Lamphong 24 小时都很热闹。除了因为这里有庙和六位神像供参拜之外, 主要是因为这里是「义德善堂」的捐款部。
「义德善堂」是一个负责「生救死执」的慈善机构。创办人是一位潮洲华侨, 但现已过世。但他所造的一切,对泰国都十分有贡献。原来,在泰国发生意外, 第一时间到达现场的并非医护人员, 而是「义德善堂」的职员。死的由他们清理尸体,无亲无故的,他们会把善信捐出来的棺材把他们安葬。
最令我感动的是他们大部份的工作人员都是义工, 但中不少更是当地艺人, 明星甚至女学生。此外, 泰国人也喜欢到来捐钱买棺材做善事。来到「义德善堂」询问处捐钱后,在表格上填上名字, 然后把一张粉红纸贴在任何一副棺木上,另一单据则拿到旁边的庙烧掉,取20支香,拜六位神,每位3支香, 然后再到门外左右各一枝。他们相信,这样做可为自己积福, 下次到曼谷,也不妨为自己积一点福吧!

曼谷。义德善堂捐棺材 

这一次的曼谷之行,月光一早就已经说了她这一次要去曼谷捐棺材,我一听的时候也觉得奇怪,最后上网查了查,发现原来在曼谷捐棺材是一件很普通的事情,不过却非常有意义。

义德善堂 Ruamkatanyu Foundation
728/3 Rama 4 Bangrak, Bangkok 10200. (Wat Hua Lamphong 越华蓝逢隔壁)
BTS Station : Sam Yan (Exit 1)
Open : 24 Hours
Tel:+6622354347




สนใจเรื่องจีนๆ ติดตามเพิ่มเติมได้ที่

Suwanna Future C


Flag Counter

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น