ได้ยินคนพูดถึงเรื่องรถไฟฟ้า พูดถึงรถไฟความเร็วสูง
นึกถึงที่ปักกิ่ง ตอนนั่งรถไฟฟ้าในเมือง และนั่งรถไฟความเร็วสูงจากปักกิ่งไปเมืองเทียนจิน
อดไม่ได้ที่จะลองคิดเปรียบเทียบค่ารถไฟฟ้าที่ปักกิ่งกับที่บ้านเรา คิดไปคิดมา ตัวเลขที่ตัวเองคิดออกมาทำไมแตกต่างกันมากขนาดนี้
A. ค่ารถไฟฟ้ากรุงปักกิ่ง (ทั้งบนดินและใต้ดินรวมกันตลอดทุกสาย) 2 หยวน เท่ากับเงินไทย 10 บาท (ปักกิ่ง)
B. ค่ารถไฟฟ้าของกรุงเทพฯ (เฉพาะบนดิน ที่เรียกว่า BTS ตลอดสาย ) ถึง สถานีปุณณวิถี 55 บาท (กทม.)
C. ค่ารถไฟฟ้าของกรุงเทพฯ (ถ้ารวม MRT ตลอดสาย 40 บาท) จะเท่ากับ 55 + 40 รวมเป็น 95 บาท
B. แพงกว่า A. 550 %
C. แพงกว่า A. 950 %
คิดถูกหรือเปล่า ? ไม่แน่ใจ
( ภาพ A. BEIJING City Subway Map 2008 )
ทีนี้ลองเปรียบเทียบระยะทางของรถไฟฟ้ากรุงปักกิ่งกับกรุงเทพฯ นะคะ แล้วจะเห็นว่ามีตัวเลขสวนทางกันกับค่าโดยสารมาก
ตัวเลขล่าสุด
รถไฟฟ้าใต้ดินและบนดินของปักกิ่งรวมกัน 482 กม. (ถ้านั่งตลอดสาย เก็บ 10 บาท)
รถไฟฟ้าบนดิน+ใต้ดิน รวมกัน ประมาณ 60 กม. (ถ้านั่งตลอดสาย เก็บ 95 บาท)
( ภาพ B. ภาพรวมของรถไฟฟ้าบีทีเอส MRT และสายสีเหลือง BRT ซึ่งการคำนวนค่าโดยสารทั้งหมดในกรุงเทพฯ ยังไม่ได้นำค่ารถ บีอาร์ที ที่เก็บอีก 10 บาทมาคิดรวม )
วิธีคิดค่าบริการรถไฟฟ้าในกรุงปักกิ่ง ใช้ระบบเีดียวกันหมด คือ เวลาซื้อบัตรโดยสาร หยอดแค่ 2 เหรียญ (ประมาณ 10 บาท)
แล้วก็ใช้ได้ตลอดจนกว่าเราจะแตะบัตรออกจากสถานีใดสถานีหนึ่ง (ไม่ว่าคุณจะเปลี่ยนจากสายบนดินไปสายที่มุดลงใต้ดิน จะดำผุดดำโผล่กี่ครั้งก็ใช้บัตรโดยสารใบเดียวตั้งแต่คุณแตะบัตรเข้าไปจนถึงแตะบัตรออก ไม่จำกัดเวลา)
บัตรนี้เป็นบัตรร่วมที่ใช้กับรถไฟฟ้าทุกสายในกรุงปักกิ่ง จะต่อกี่ขบวน กี่สาย ก็เสียแค่ 2 เหรียญ
ในความเป็นจริง ในปักกิ่งคงมีคนที่นั่งตลอดสายน้อยมาก เพราะระยะทางรวมตั้ง 482 กม. (พอๆ กับจากกรุงเทพฯ ไปนครสวรรค์ ไปชุมพรโน้นเลย...)
ในกรุงเทพฯ ถึงแม้อาจจะมีคนนั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน + บนดินรวมกันตลอดสาย 60 กม. ไม่มาก
แต่......... มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเดินทางโดย BTS แล้วไปต่อ MRT (ไปติดต่อธุระ จึงไม่สามารถใช้บัตรราคาพิเศษที่มีกำหนดระยะเวลาการใช้งานได้)
เช่น จากแถววงเวียนใหญ่โดยบีทีเอส ไปสถานีศาลาแดง ( 30 บาท) เพื่อไปต่อ MRT ไปที่สถานีแถวสุทธิสาร ลาดพร้าฯ
ซึ่งค่ารถไฟฟ้ารวมกันแล้วเกิน 60 บาทต่อการเดินทาง 1 เที่ยว ค่ารถไป - กลับก็ 120 บาท
(เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว ชาวปักกิ่งที่ต้องต่อรถลักษณะนี้จะเสียแค่ 20 บาทเท่านั้น)
จากความจริงและเงื่อนไขข้างต้น จะเห็นตัวเลขแบบนี้ค่ะ
ชาวปักกิ่ง เสีย 20 บาท
ชาวกรุงเทพฯ เสีย 120 บาท
แล้วถ้าเอาระยะทางทั้งหมด และ ค่าโดยสารของ BTS + MRT + Airportlink 28.5 กม. มารวมกัน ก็จะเป็น
BTS + MRT + Airportlink
ระยะทาง 87 กม. ค่าโดยสาร 55+40+20 เท่ากับ 115 บาท (ตลอดทุกสายในกรุงเทพฯ)
รถไฟฟ้ากรุงปักกิ่ง 482 กม. ค่่าโดสาร 20 บาท (ตลอดสายใต้ดิน + บนดิน)
ระยะทางสั้นกว่า 395 กม. แต่ค่าโดยสารแพงกว่า 95 บาท (โดยรวม)
และถ้าเอาระยะทางยาวรวม กับ ค่าโดยสารรวม มาคำนวนด้วยกัน มาเทียบอัตราส่วนกัน
คุณคิดว่าชาวกรุงเทพฯ ต้องเสียค่ารถไฟฟ้า แพงกว่า ชาวปักกิ่ง ถึงกี่ % ?
ปัจจุบัน ค่ารถไฟฟ้าความเร็วสูงจากกรุงปักกิ่ง ไป เมืองเทียนจิน ค่าโดยสารประมาณ 275 บาท / เที่ยว ระยะทาง 180 กม. (30 นาที)
เทียบระยะทางปักกิ่ง - เทียนจิน แล้ว ก็ประมาณจากกรุงเทพฯ - หัวหิน ปัจจุบันค่ารถตู้จากกรุงเทพฯ - หัวหิน เที่ยวละ 180 บาท
ตอนที่รถไฟฟ้าความเร็วสูงของเราสร้างเสร็จ ไม่ทราบว่าค่ารถโดยสารจะแตกต่างจากของจีนมากน้อยแค่ไหน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น