หน้าเว็บ

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

คำจีนชวนสับสน 近义词 :“依靠” 跟 “依赖” พึ่งพาอาศัย Rely on(HSK6)


依靠  跟 赖 พึ่งพาอาศัย  Rely on
依靠  跟 依赖 有什么区别?(HSK6) 


คำจีนสับสน 依靠  跟  依赖 ใช้ต่างกันอย่างไร ?




ทั้งสองคำต่างก็เป็นคำกริยา ที่มีการแปลเป็นภาษาไทยว่า "พึ่งพาอาศัย"
แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Rely on

แต่.... สองคำนี้ใช้ต่างกันอย่างไร



ความหมายที่ใช้ต่างกัน

1. คำว่า  依靠 Yīkào  หมายถึง
    การพึ่งพา การอาศัยบางสิ่งในตนเองหรือความช่วยเหลือของผู้อื่น ทำให้เกิดผลอะไรบางอย่างตามมา

2. คำว่า 依赖 Yīlài  หมายถึง
    การพึ่งพาแบบหวังพึ่ง และการอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นแบบชนิดที่ขาดไม่ได้

3. คำว่า  依靠  ใช้เป็นคำนามได้ แปลว่า "ที่พึ่งพิง"
    คำว่า  依赖  ใช่เป็นคำนามไม่ได้  เมื่อใช้เป็นคำนาม ต้องเติมคำว่า เป็น 依赖性 (การหวังพึ่ง การพึ่งพา) เช่น 依赖性太强的心理。(ความคิดที่หวังพึ่งผู้อื่นมากเกินไป) 
    依靠  可以用做名词,但  依赖 不能做名词。      

• ตัวอย่างการใช้ 依靠   
• อาศัยการสนับสนุนของพ่อแม่และความพยายามของตนเอง จึง....... 
  依靠父母的支持和自己的努力,.....

* หลังได้งานทำ ครอบครัวก็มีที่พึ่งพิง (เป็นคำนาม)
  找到工作后,全家生活有了依靠 (名词)

* หลังจากที่คุณพ่อของเขาจากไป คุณแม่กลายเป็นคนเดียวที่เขาจะพึ่งพิงได้


  他父亲离开后,母亲成了唯一可依靠的人。


。。。。。。。。


•  ตัวอย่างการใช้ 依赖 
   ทำอะไรอย่าเอาแต่หวังพึ่งคนอื่น  (พึ่งคนอื่นท่าเดียว)
   做什么都不要单依赖别人。

• อยากเรียนให้ได้ดี  อย่าหวังพึ่งแต่การติว
  想学得好,不能依赖课外补习。
近义词 คำศัพท์จีนชวนสับสน
เรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧
พฤษภาคม 2016 


หากมีความเห็นเพิ่มเติม  เสริมตัวอย่าง คำถาม  เห็นแย้งสามารถแสดงความเห็น
** ผ่านช่องทางที่หน้าบล็อก หรือ
** ส่งข้อความเห็นผ่านเฟซบุ๊ค Suwanna Future C
** เว็บไซต์ของฟิวเจอร์ซี 









เพิ่มเติมหลังโพสต์
การเข้าใจรากที่มาของคำศัพท์จีน  จะช่วยให้เข้าใจและแยกแยะคำสับสนจีนได้มาก
รวมทั้งคำที่ใช้ในเชิงบวก หรือ เชิงลบ เช่น
คำว่า 赖 นี้ โดยรากศัพท์เดิมใช้ในเชิงลบ  ตัวอย่างคำ เช่น
赖别人  ใช้เป็นกริย แปลว่า  โทษคนอื่น โยนความผิดให้คนอื่น
赖账      คำกริยา     แปลว่า  เบี้ยวเงิน เบี้ยวหนี้  ชักดาบ
无赖      คำนาม      แปลว่า  คนที่ไม่ทำมาหากิน พวกอันธพาล

การเรียนให้รู้ลึกถึงความหมายของคำ จำเป็นต้องเรียนจากขั้นพื้นฐานขึ้นมา
เหมือนเราเรียนภาษาไทย ต้องเริ่มจากคำโดด ทีละคำ แล้วจึงค่อยเรียนคำประสม
การเรียนโดยวิธีท่องศัพท์อย่างเดียว หรือ ใช้วิธีใช้แอพแปลภาษา
อาจพาให้เราเสียด้วยการเลือกใช้คำผิด
โดยเฉพาะเอาคำที่ใช้เชิงลบไปใช้พูดกับผู้ใหญ่หรือลูกค้าโดยไม่รู้ว่าเป็นคำหยาบคายหรือเสียมารยาท



คำอธิบายรากศัพท์คำว่า  จาก พจนานุกรมจีน-ไทย ฉบับนักเรียนนักศึกษา
เรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง
สำนักพิมพ์เต๋าประยุกต์ จัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์เคล็ดไทย



๑๑๑๑๑



อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน
หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้
  ขออภัยในข้อบกพร่องใดๆ  ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นFlag Counter

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น