หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คำจีนสับสน 摆 กับ 放 ใช้ต่างกันอย่างไร ?

คำที่นักเรียนไทยสงสัยและสับสน เพราะแปลเป็นไทยแล้วคล้ายกัน
คำคล้าย(近义词)摆  กับ  放
What are difference between 摆 and 放 ?
“摆” 跟 “放”有何区别 ?

ทั้ง  摆 bǎi และ 放 fàng  ก็เห็นเขาแปลว่า “วาง” ทั้งสองคำ บางเว็บไซต์บอกว่า “ใช้เหมือนกันทั้งสองคำ ไม่ต่างกัน” 

สองคำนี้แทนกันได้มั้ย ? ใช้ต่างกันอย่างไร ? 

...............................
นักเรียนต้องลบ “ใช้เหมือนกัน” ออกไปจากสมองก่อน เพราะ  

“สองคำนี้คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน”  
คำที่สร้างจากรากคำสองคำนี้ ความหมายคนละเรื่องเลย




ความแตกต่างระหว่างสองคำนี้  “摆”  “放”

 เป็นคำกริยา แปลว่า วางเรียง วางเป็นระเบียบ วาง(ประดับ) วาง(แผงขายของ) 

 ก็เป็นคำกริยาที่แปลได้หลายความหมาย  นอกจากจะแปลว่า “วาง” (ไว้)    ”วาง”(อยู่) แล้ว   
     ยังแปลว่า “ใส่ลงไป”    “ปล่อย”    “ปล่อยวาง”  ได้ด้วย

(1) ตัวอย่างการใช้    

桌子上摆着花瓶。
บนโต๊ะวางประดับแจกันอยู่ ( คือวางประดับโต๊ะ)

店前摆着花树,店里摆着各种商品。
มีต้นไม้ดอกวางเรียงอยู่หน้าร้าน  มีสินค้าหลากหลายชนิดจัดเรียงอยู่ในร้าน

摆成一个圆圈形。เรียงเป็นรูปวงกลม

(2) ตัวอย่างการใช้     

桌子上放着花瓶。    บนโต๊ะ(มี)แจกันวางอยู่ (อาจวางไว้เฉยๆ หรือวางอยู่ในท่าไหนก็ได้)

这儿不能放东西。    ที่นี่วางของไม่ได้นะ

不放糖                   ไม่ใส่น้ำตาลค่ะ 
   
放学了                   เลิกเรียนแล้ว (ออกจากโรงเรียนได้)  
   
放假了                   ปิดเทอมแล้ว เย่ๆ 

放他走吧               ปล่อยเขาไปเถอะ  

ตัวอย่างคำศัพท์ที่สร้างจากรากคำ   กับ

摆放                            จัดเรียง วางเรียงเป็นระเบียบ

摆架子                        วางมาด  วางท่า  

放心                            วางใจ ไว้วางใจ

放手                            ปล่อยมือ (ละทิ้ง)

放贷                            ปล่อยกู้ ปล่อยเงินกู้ 

小提示 TIPS:
สรุปว่า   กับ 放 เป็นคำคล้าย  ใช้ไม่เหมือนกัน
สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云
๑๑๑๑๑



ดูเกร็ดความรู้ภาษาจีนเพิ่มเติม (คลิกที่นี่)


อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้ Flag Counter

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ไวยากรณ์จีนจำง่ายๆ คำจีนสับสน 一遍、一次、走遍、车次、班次 ใช้ต่างกันอย่างไร ?



ไวยากรณ์จีนจำง่ายๆ คำจีนสับสน
一遍、一次、走遍、车次、班次
ใช้ต่างกันอย่างไร ?
......

เป็นคำถามยอดนิยมของคนเริ่มเรียนภาษาจีน
อยู่ในกลุ่มคำลักษณนามที่ใช้บ่อย และคำจีนสับสน 
ใช้บ่อย ออกสอบบ่อยใน PAT จีน และภาษาจีนขั้นกลางระดับต้น
  
เหล่าซือตอบคำถามและอธิบายการใช้ แยกเป็นหัวข้อต่อจากบความก่อนหน้านี้นะคะ
......... 
ความเดิม ในบทความที่แล้ว อ่านเรื่องเดิม คลิกที่นี่
(1) การใช้  "一下" กับ "一下儿"
(2) การใช้  "一声" 
(3) การใช้  "一趟"  
ใช้เป็น 动量补语 คำเสริมบอกปริมาณของการกระทำ (กริยา) เป็นการเสริมความชัดเจนว่าทำไปมากน้อยแค่ไหน 
...................



(4) การใช้ 遍、一遍
      "遍"  เป็นลักษณนาม  ใช้แสดงการกระทำ 1 รอบ 1 จบ (เช่น ดูหนังสือจบไปสองรอบ) 
     ตัวอย่าง 1
     这本书我看了三遍,很好看。หนังสือเล่มนี้ ผมอ่านจบไปสามรอบแล้วครับ สนุกดี 
     (อ่านตั้งแต่ต้นจนจบ ถือเป็น 一遍 )
     遍  ในประโยคนี้ ทำหน้าที่เป็น 动量补语 คำเสริมบอกปริมาณของการกระทำ (กริยา) เป็นการเสริมกริยาคำว่า "อ่าน" ให้ชัดเจนว่าทำไปมากน้อยแค่ไหน กี่รอบ
     ตัวอย่าง 2
     那部电视剧太感人了,我还想再看一遍。
     ซีรีย์เรื่องนั้นดูแล้วสะเทือนอารมณ์มากเลย ฉันยังอยากจะดูอีกสักรอบ
.......

(5)  การใช้ 次、一次
      “次” เป็นลักษณนาม แปลว่า ครั้ง (ไม่ได้หมายถึง 1 จบ 1 รอบ) 
      ตัวอย่าง 1
      看过一次 / 去过两次。 เคยดูหนึ่งครั้ง เคยไปสองครั้ง ……
      ตัวอย่าง 2
      我去过几次北京了。    ผมเคยไปปักกิ่งหลายครั้งแล้วครับ ……
      ตัวอย่าง 3
      我找过他两次。           ผมเคยไปหาเขาสองครั้งครับ ……
      
      ข้อควรจำ 注意
      ถ้ากรรมเป็นสถานที่     次 จะอยู่หน้าคำนามสถานที่ (ตัวอย่างที่ 2 กรรมคือ "ปักกิ่ง")
      ถ้ากรรมเป็นสรรพนาม 次 จะอยู่หลังคำสรรพนาม (ตัวอย่างที่ 3 กรรมคือ "เขา" )  

      เปรียบเทียบการใช้ 次 กับ 遍 ที่ต่างกัน 
      那部小说我看了很多,但都还没看完一
      นวนิยายเรื่องนั้น ผมอ่านหลายครั้งแล้ว แต่ยังอ่านไม่จบ (สักรอบ) เลย

(6) คำว่า 遍 เมื่ออยู่หลังคำกริยา ก็หมายถึง "ทั่วทั้งหมด" (แต่ 次ใช้ในความหมายนี้ไม่ได้) เช่น 
     走遍中国。                 (เดินทาง)ไปทั่วประเทศจีน   
     游遍曼谷各个角落。  เที่ยวทั่วทุกซอกทุกมุมของกรุงเทพฯ      
      
(7) คำว่า  ใช้บอกเที่ยวรถ เที่ยวรถไฟ เที่ยวเครื่องบิน (แต่ 遍 ใช้ในความหมายนี้ไม่ได้)  เช่น 
     车次 (เที่ยวรถ เที่ยวรถไฟ)  班次 (เที่ยวบิน)
........

小提示 Tips: 
ถ้าจะเรียนภาษาจีนให้เก่ง ใช้พูดหรือเขียนได้เหมือนคนจีน ก็จำเป็นต้องเรียนรู้การใช้คำและเรียงประโยคให้ถูกด้วยค่ะ

สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云
ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี ใกล้บีทีเอสตลาดพลู

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่าน คอมเมนท์ และแชร์จากลิงค์นี้โดยตรงค่ะ

ตัวอย่างข้อสอบลักษณนามที่ออกสอบ PAT 7.4




汉语语法、近义词
一遍、一次、走遍、车次、班次
用法区别  


๑๑๑๑๑



ดูเกร็ดความรู้ภาษาจีนเพิ่มเติม (คลิกที่นี่)


อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้ ขออภัยในข้อบกพร่องใดๆ และขอความกรุณาช่วยชี้แนะด้วยค่ะ Flag Counter

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ไวยากรณ์จีนจำง่ายๆ 一下、一声、一趟 ใช้อย่างไร ?


ไวยากรณ์จีนจำง่ายๆ
一下、一声、一趟  ใช้อย่างไร ?
......

จากคำถามของนักเรียนที่ถามมาว่า 

การใช้  下、声、趟 (动量补语)เช่น  她敲了一下儿门。
ในที่นี้จะแปลว่าอะไรคะ ไม่ได้แปลว่าซักประเดี๋ยวใช่มั้ย 
一声  เราใช้กับการได้ยินเสียงอย่างเดียวหรือเปล่าคะ รวมถึง 趟 ด้วย
......... 

คำลักษณนามกลุ่มนี้เจอบ่อย 
ใช้ออกสอบในระดับภาษาจีนขั้นกลาง และ PAT จีน  
เหล่าซือตอบคำถามและอธิบายการใช้ แยกเป็นหัวข้อต่อไปนี้นะคะ 




........ 
(1)
 "一下" กับ "一下儿"เป็นลักษณนาม แปลว่า หนึ่งที ทีนึง หรือ สักพัก สักครู่  สักแป๊บ ฯลฯ

ตัวอย่าง 1
** 她敲了一下儿门。 
一下儿  ในประโยคนี้ หมายถึง เคาะประตูไป “ 1 ที” หรือ “เคาะอยู่สักพัก” ก็ได้ (ให้ดูจากสถานการณ์หรือบริบทในประโยคประกอบ ) 
ถ้าใช้คำว่า  敲了一下门。(ไม่มี 儿) ก็ค่อนข้างชัดว่า หมายถึง เคาะไปแค่ 1 ที

一下儿  ในประโยคนี้ ทำหน้าที่เป็น 动量补语 คำเสริมบอกปริมาณของการกระทำ (กริยา) เป็นการเสริมกริยาคำว่า "เคาะ" ให้ชัดเจนขึ้น ว่าทำไปมากน้อยแค่ไหน

ตัวอย่าง 2   
被妈妈打了一下。 โดนแม่ฟาดไป 1 ที 
.......

(2) การใช้  一声 
"一声"  เป็นลักษณนาม ใช้กับการพูด คำพูด  หมายถึง พูดสักคำ บอกสักคำ 

ตัวอย่าง 1 
不回来的同学跟我说一声。 
นักเรียนที่จะไม่กลับ (พร้อมกับรถ) ให้มาบอกให้รู้สักหน่อยนะคะ 

ตัวอย่าง 2 
她一声不响。  เธอไม่พูดอะไรเลยสักคำ (บางสถานการณ์ก็หมายถึง อาการที่เงียบ ไม่มีเสียงซักแอะ) 
.....

(3) การใช้ 一趟  
"一趟" เป็นลักษณนาม  ใช้แสดงการไป - กลับเป็นเที่ยว (ใช้กับการเดินทาง) 

ตัวอย่าง 1 
还麻烦你跑一趟。ยังทำให้คุณต้องลำบากมา (เดินทางมาแล้วก็กลับ เพื่อเอาของมาให้ จากตัวอย่างในตำรา 汉语教程二) 

ตัวอย่าง 2
白跑一趟。ไปเสียเที่ยว / มาเสียเที่ยว (ไปและกลับ)
........

小提示 Tips: ข้อสังเกต
一下、一声、一趟 ออกสอบบ่อยมากใน PAT จีน

สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

汉语语法、近义词
汉语教程第二册(上)
新实用汉语课本
PAT จีน 



๑๑๑๑๑



ดูเกร็ดความรู้ภาษาจีนเพิ่มเติม (คลิกที่นี่)


***



.....
...
Flag Counter

คำมงคลจีนยอดนิยม 四季興隆 รุ่งเรืองตลอดปี การค้าเจริญรุ่งเรือง


อักษรจีนยอดนิยม ที่ชอบติดไว้ตามร้านค้า 
มีคนถามบ่อยว่าแปลว่าอะไร ?

興 เห็นบ่อยๆ โดยเฉพาะร้านขายทองแถวเยาวราช 
คือตัวไหนในอักษรจีนตัวย่อ ? แปลว่าอะไร ? 
เขียนยากจัง  เป็นอักษรน่ารู้ค่ะ
......



四季興隆 
Sìjì xīnglóng ซื่อจี้ซิ้งหลุง 
รุ่งเรืองตลอดปี เฟื่องฟูทั้งสี่ฤดู การค้าเจริญรุ่งเรือง

四季興隆
ถ้าแปลตรงตัว ก็คือ เจริญรุ่งเรืองตลอดทั้งสี่ฤดู  แต่คำไทยเราไม่นิยมพูดแบบนี้

คำว่า 四季 Sìjì แปลว่า ทั้งสี่ฤดู (จีนปีหนึ่งแบ่งเป็น 4 ฤดู) จึงหมายถึง "ตลอดปี"
  
คำว่า xīng ก็คือคำว่า "เฮง" ในภาษาแต้จิ๋ว  เป็นอักษรจีนตัวเต็ม (ตัวย่อ คือ 兴)

คำว่า แปลว่าเจริญรุ่งเรือง เฟื่องฟู 

สำเนียงจีนกลาง ออกเสียงว่า "หลุง"
สำเนียงจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า "ล้ง"
สำเนียงจีนฮากกาออกเสียงว่า "หลุ่ง" 

ส่วนคำไทยก็มีคำว่า "รุ่ง" ที่ใช้ในความหมายคล้ายกัน 
ภาษาไทยหลายๆ คำอาจมีที่มาจากภาษาจีน
อันนี้เป็นข้อสังเกตส่วนตัวของเหล่าซือเองที่ได้จากการศึกษาภาษาจีน-ไทย และนำมาเปรียบเทียบกัน

興隆 xīnglóng  
เหล่าซือก็แปลเป็นแบบบ้านๆ ว่า เฮงๆ รุ่งๆ
ภาษาอังกฤษแปลว่า prosperous,flourishing เจริญ เฟื่องฟู

.....
小提示 Tip:
เกร็ดภาษาจีน

(1) 興 (兴) เป็นอักษรจีนยอดนิยมในการตั้งชื่อร้านค้า ชื่อบริษัท ชื่อคนในประเทศไทยและย่านคนจีนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก 
ภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า "เฮง"  
จีนฮากกาออกเสียงว่า "ฮิน"

(2) 興 (兴) เป็นอักษรจีนหลากเสียง เป็นคำพ้องรูปที่อ่านได้หลายเสียง 
     คำที่นักเรียนต่างชาติได้เรียนในขั้นต้น คือ คำว่า 高兴 (แปลว่า ดีใจ) ออกเสียงว่า เก๊าซิ่ง (ซิ่ง - เทียบได้กับวรรณยุกต์เสียงโทในภาษาไทย)

      興 (兴) ที่แปลว่า เฮง รุ่งเรือง ออกเสียงว่า ซิ้ง (เทียบได้กับวรรณยุกต์เสียงตรีในภาษาไทย - เสียงสูงกว่า ซิง

ขอให้คนเขียน คนอ่าน คนแชร์ เฮงๆ รุ่งๆ ค่ะ
สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

ภาพประกอบ เหล่าซือถ่ายจากหน้าร้านอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดตรัง


๑๑๑๑๑



ดูเกร็ดความรู้ภาษาจีนเพิ่มเติม (คลิกที่นี่)

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การออกเสียงภาษาจีนกลางที่คนไทยยังมีปัญหา z c s zh ch sh r Chinese Pronunciation 4

สอนวิธีการออกเสียงภาษาจีนกลางมาตฐาน
How to ... pronounce Mandarin Chinese ( phonetics )
教你如何发音。标准普通话发音。
www.futurec-cn.com
https://www.facebook.com/SuwannaFutur...

การออกเสียง Phonetics 
♣ คนไทยเรามีปัญหาการออกเสียงภาษาจีนกลาง แม้แต่คนจีนเองในหลายๆ ท้องถิ่นก็มีปัญหาการออกเสียงพยัญชนะเหล่านี้เหมือนกัน เพราะในภาษาถิ่นของเขาไม่มีเสียงแบบนี้ 
เคยมีผลวิจัยของ ศ. เฉาเหวิน 曹文教授 BLCU ที่พบว่าคนไทยมีปัญหาการออกเสียงพยัชนะ zh ch sh r มาก 
พยัญชนะเหล่านี้คนสับสนเยอะมากค่ะ 

♣ หนึ่งในนั้นก็คือตัว r ซึ่งคนต่างชาติจำนวนไม่น้อยออกเสียงเป็น " ร " จริงๆ แล้วต้องออกเสียง " ย " กระดกลิ้น เช่น คำว่า 日本 (ญี่ปุ่น) ต้องออกเสียงว่า "ยื่อเปิ่น" ไม่ใช่ รื่อเปิ่น
人 ออกเสียงว่า เหยิน ไม่ใช่ "เหริน"

♣ มีวิธีออกเสียงอย่างไร ?
ch ออกเสียงคล้าย ช หรือ ฉ โดยกระดกปลายลิ้นขึ้นไปแตะที่เพดานแข็งบนช่องปาก ทำให้เสียงที่เปล่งออกมาเป็นเสียงเสียดสี 
**แต่ไม่ใช่ม้วนลิ้นจนเลยไปถึงเพดานอ่อนนะคะ เพราะจะทำให้เป็นเสียงม้วนลิ้นที่เกินพอดีไปค่ะ
เช่น คำว่า
กินข้าว 吃饭 Chīfàn ออกเสียงคล้าย "ชื้อฟ่าน" ช กระดกลิ้น วรรณยุตก์เสียงตรี ไม่ใช่เสียงสามัญ
ส่วน พยัญชนะ sh ออกเสียงคล้าย "ซ " หรือ "ส" แต่กระดกปลายลิ้นขึ้นไปแตะที่เพดานแข็ง เช่น คำว่า 老师 "เหล่าซื้อ" 师 ซื้อ
十 ( shí สือ กระดกลิ้น) เลขสิบ 
ง่ายๆ ก็ Ch ออกเป็นเสียง ช / ฉ กระดกลิ้น 
Sh ออกเสียง ส / ซ กระดกลิ้นค่ะ ไม่ใช่ม้วนลิ้น

♣ อีกประเด็นที่ต้องเข้าใจคือ ภาษาท้องถิ่นสำเนียงปักกิ่งที่มีการม้วนลิ้นมากๆ ไม่ใช่ ภาษาจีนกลางมาตรฐาน 北京话不是标准普通话 ภาษาจีนกลางจึงไม่ต้องม้วนลิ้นหรือเออร์มากเท่ากับภาษาถิ่นปักกิ่ง

เรียบเรียงโดย สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云

ฟังเสียงได้จากลิงค์นี้ค่ะ

https://www.youtube.com/watch?v=BKUzQsS6QXc

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แนะเทคนิคสอบ แนวข้อสอบและตัวอย่าง YCT3




ตัวอย่างข้อสอบ YCT3 สอบวัดความรู้ภาษาจีนระดับนักเรียนประถม - มัธยม

อธิบายแนวข้อสอบด้วยภาษาไทย 
วิธีเตรียมตัวสอบ  
แนะเทคนิคการทำข้อสอบ 
โดย สุวรรณา สนเที่ยง
ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี


TIPS: สำหรับสอบ HSK / YCT ทุกระดับ
1.   พักผ่อนให้เพียงพอก่อนวันสอบ   เพื่อให้วันสอบมีสมาธิ  สมองแจ่มใส  เรื่องนี้สำคัญมาก      
     ถ้าเราลุยอ่านจนดึกดื่น หรือ นอนตื่นสาย สมองจะไม่แจ่มใส  บางทีก็เบลอๆ  มึนๆ  บางครั้งเกิดอาการจำไม่ได้ขึ้นมากระทันหันก็มี  แต่พอออกจากห้องสอบแล้วก็นึกขึ้นได้
2.  เทคนิคการทำข้อสอบฟัง  
    ต้องตั้งสมาธิ  ไม่วอกแวก   
      จดทุกอย่าง  ถ้าได้ยินตัวเลข  วันเดือนปี  เวลา สถานที่  สี  ฯลฯ  จากเทปข้อสอบ ให้จดไว้ในกระดาษด้วยดินสอ
3.  เทคนิคสอบการอ่าน  
    อ่านคำถามก่อน อ่านเนื้อเรื่องทีหลัง 
    โจทย์บางข้อจะมีคำตอบอยู่ในเนื้อเรื่อง 
       บางข้อต้องอ่านและทำความเข้าใจทั้งเรื่องจึงจะตอบได้ โดยเฉพาะข้อสอบอ่านข้อหลังๆ  บางข้อหลอกมา  ถ้าอ่านแค่บางประโยคแล้วเอาไปตอบเลย  ก็มักจะโดนข้อสอบหลอก
         อย่าใช้เวลาอยู่กับข้อใดข้อหนึ่งมากเกินไป ข้อต่อๆ มาอาจเป็นข้อที่เราทำได้  
                                                   .......................................

นี่เป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างข้อสอบจริงที่เคยออกสอบ

การสอบ YCT ระดับ 3 แบ่งเป็นสองส่วน
สอบทักษะการฟัง  35 ข้อ  100 คะแนน
สอบทักษะการอ่าน ความเข้าใจภาษา 25 ข้อ 100 คะแนน

ใช้เวลาสอบ 60 นาที

คะแนนที่ผ่านเกณฑ์ คือ ต้องมีคะแนนรวมกันสูงกว่า 60% หรือ 120 คะแนนขึ้นไป

..........

ส่วนหนึ่งของตัวอย่างข้อสอบ

ภาพที่ 1  ตัวอย่างสอบฟัง  
ฟังแล้วตอบว่าภาพที่เห็นในข้อสอบถูกหรือผิดจากที่ได้ยิน






ภาพที่ 2  ตัวอย่างสอบฟัง  

 เลือกภาพให้ตรงกับสิ่งที่ได้ยิน




ภาพที่ 3  ตัวอย่างสอบฟัง  
ฟังคำถาม แล้วเลือกคำตอบจากข้อความที่ให้มา




ภาพที่ 4  ตัวอย่างสอบอ่าน  
ดูภาพและอ่านข้อความ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับข้อความภาษาจีน 
ภาพกับข้อความไหนที่มีความเกี่ยวข้องกัน

(ฝนในกระดาษคำตอบ)





ภาพที่ 5  ตัวอย่างสอบอ่าน  ข้อ 46 - 50
อ่านคำถาม แล้วเลือกคำตอบจากข้อ A B C  
(ฝนในกระดาษคำตอบ ช่อง A  B  C ) 






ภาพที่ 6  ข้อ 51 - 60
 เลือกคำศัพท์ที่ถูกต้องจาก ข้อ  A B C เติมลงในช่องว่าง
(ฝนในกระดาษคำตอบ ช่อง A  B  C ) 






แบ่งปันจากห้องเรียนของ
ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี
คลาสนักเรียนประถม เสาร์ หรือ อาทิตย์
สอนโดย 
หานลี่เหวินเหล่าซือ


www.futurec-cn.com


เรามีรวมเล่มตัวอย่างข้อสอบ YCT 1 - 4




๑๑๑๑๑



ดูเกร็ดความรู้ภาษาจีนเพิ่มเติม (คลิกที่นี่)

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน  หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้ Flag Counter

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ไวยากรณ์จีนจำง่ายๆ การใช้ 得 ตอนที 2 ใช้บอกระดับความเข้ม

หิวจน........... 
เหนื่อยจน.........
ยุ่งจน..........
คำแบบนี้ภาษาจีนพูดอย่างไร
.....
ไวยากรณ์จีนจำง่ายๆ  
การใช้  得  ตอนที่ 2 ภาษาจีนขั้นกลาง  
(ต่อจากตอนที่ 1)

ชุดไวยากรณ์ที่ใช้งานบ่อย ใช้สอบ HSK  PAT  

得 ใช้กับหลายสถานการณ์มาก มากจนคนเรียนงง 
บางคนขอให้เหล่าซือช่วยอธิบายแบบละเอียดๆ เน้นๆ (ได้เลยค่ะ จัดให้ส่วนหนึ่งแล้ว)
เราค่อยๆ เรียนรู้กันไป  จากง่ายไปหายาก  
เข้าใจไปทีละเปลาะ  
การเรียนข้ามขั้น หรือใช้วิธีอัดเข้าไปเยอะๆ  สอนทีละหลายๆ เรื่อง จะยิ่งทำให้สับสนมากขึ้น


ความเดิมตอนที่ 1 (คลิกอ่านที่นี่) 
พูดถึงการใช้ 得 ที่ตามหลังคำกริยา และ 得 อยู่หน้าคำคุณศัพท์

เราเข้าใจแล้วว่า 得 เป็นคำช่วยโครงสร้าง คำคุณศัพท์ที่ตามหลัง 得 ทำหน้าที่อธิบายการกระทำหรือกริยาให้ชัดเจน * (ใช้กับกริยาและการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว)  เรียกว่า 情态补语 (คำเสริมบอกสภาพการกระทำ Complement of state)
ตัวอย่างเช่น 说得很好 พูดได้ดีมาก 

หลักไวยากรณ์แบบนี้  เราจะได้เรียนในภาษาจีนระดับขั้นต้น
ทั้งในตำรา 汉语教程  และ 新实用汉语课本 จะจัดเรื่องนี้ไว้ในแบบเรียนเล่มต้นๆ HSK2   
......................
แต่ 得 ก็ตามหลังคำคุณศัพท์ได้เหมือนกันนะ  
แล้วใช้ต่างกันอย่างไร ? 
ทำไมเรียงไม่เหมือนกันล่ะ ?
เป็นคำถามที่น่าสนใจมาก



ในตอนที่ 2 นี้ เราจึงมาพูดถึงการใช้ 得 ที่ตามหลังคำคุณศัพท์ ซึ่งจะเป็นการบอกระดับความเข้ม
.....
ตัวอย่างประโยค  

เหนื่อยจนกินข้าวไม่ลง     累得吃不下饭   

เหนื่อยจนไม่อยากพูด      累得不想说话。 

เหนื่อยจนเดินไม่ไหวแล้ว 累得走不动了。

หิวจนหมดแรงแล้ว          饿得没气力了。

หิวจนตาลาย                  饿得头昏眼花。

สรุปได้ว่า 得 ที่ใช้เป็นคำช่วยในการเรียงคำแบบนี้  กลุ่มคำที่ตามมาจะเป็นส่วนเสริมใช้พรรณา บรรยาย อุปมา ที่ว่า "เหนื่อย" หรือ "หิว" นั้น  เหนื่อยขนาดไหน  หิวขนาดไหน (บ่นบ้าง ใส่โวหารบ้าง)  

ซึ่งคำเสริมหรือบทเสริมแบบนี้ ไวยากรณ์จีนเรียกว่า 程度补语 (คำเสริมบอกระดับ Complement of Degree)

- การรเรียงคำ - 
ประธาน  +  คำคุณศัพท์  + 得 +  กลุ่มค
 (ละประธาน)     累            得   吃不下饭 


ตัวอย่างการใช้ผิด (语病 / Error)


我忙没时间吃饭。X   ขาดคำช่วย 得 ไป  

ที่ถูก ต้องแก้เป็น 我忙没时间吃饭。
ผมยุ่งจนไม่มีเวลาจะกินข้าวเลยครับ
............
หลักไวยากรณ์แบบนี้  เราจะได้เรียนในภาษาจีนระดับขั้นกลาง
ทั้งในตำรา 汉语教程  และ 新实用汉语课本 จะจัดเรื่องนี้ไว้ในแบบเรียนเล่ม 3  HSK3-4




ตัวอย่างประโยคเพิ่มเติม
(1)ถามจนฉันไม่รู้จะตอบยังไงดี
2ดีใจจนพูดอะไรไม่ออก
3ตื่นเต้นดีใจจนนอนไม่หลับเลย
4เร็วจนตามไม่ทันแล้วจ้า

5สวยจนจำไม่ได้แล้ว



................

小提示 TIPS 
แนะวิธีแยกแยะและจำง่ายๆ

** จำตัวอย่างให้ได้สัก 2 - 3 ประโยค 
    แล้วจะเรียงถูกเองโดยอัตโนมัติ
..........
1.  เมื่อข้างหน้า 得 เป็นคำคุณศัพท์  
     กลุ่มคำที่อยู่หลัง 得 ทำหน้าที่บอกระดับความเข้มข้นของคำคุณศัพท์นั้น 
     เช่น  คำคุณศัพท์เป็น เหนื่อย หิว ฯลฯ เมื่อมี 得 ตามหลัง 
     ก็จะบอกว่าเหนื่อยขนาดไหน  เหนื่อยมากจนอย่างโน้นอย่างนี้  
     หลัง 得 เป็นกลุ่มคำ (กริยาวลี) 
     
2.  เมื่อข้างหน้า 得 เป็นคำกริยา และตามด้วยคำกริยาวิเศษณ์ + คุณศัพท์  
     คำคุณศัพท์ที่อยู่หลัง 得 จะทำหน้าที่อธิบายการกระทำหรือกริยาให้ชัดเจน *
      (ใช้กับกริยาและการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว) 


สุวรรณา สนเที่ยง 张碧云
ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี
17 สิงหาคม 2016

ติดตามได้ที่บล็อกนี้ และที่

facebook : https://www.facebook.com/SuwannaFutureC/

#语病  #HSK  #YCT4   #PATจีน  #ภาษาจีนขั้นต้น


๑๑๑๑๑






ดูเกร็ดความรู้ภาษาจีนเพิ่มเติม (คลิกที่นี่)

อ่านเรื่องเกร็ดภาษาจีน (คลิกที่นี่)  
หวังว่าทุกคลิกของท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความเหล่านี้
ขออภัยในข้อบกพร่อง ขอบคุณที่ท้วงติงและร่วมแสดงความคิดเห็นFlag Counter